วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

4. ระบบสารสนเทศทางการผลิต 

การผลิตและดำเนินงาน คือ กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ ซึ่งถือเป็นกระบวนการการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่า ส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือบริโภค และมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านการตลาด อีกทั้งยังมีการตอบสนองเป้าหมายสำคัญทางการผลิต
1. แนวคิดและความหมาย
การผลิตและดำเนินงาน คือ การนำทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งด้านแรงงาน เงินทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี วิธีการ วัตถุดิบ ความต้องการของตลาด การจัดการและเวลา ซึ่งรวมเรียกว่า ปัจจัยการผลิต
กระบวนการผลิต คือ กิจกรรมการแปรรูป และเพิ่มมูลค่าให้กับปัจจัยการผลิต เพื่อเข้าสู่รูปแบบของสินค้าหรือบริการซึ่งพร้อมส่งมอบให้ลูกค้า และในแต่ละกระบวนการผลิตจะประกอบด้วยกระบวนการผลิตย่อยหลายกระบวนการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์
จากทั้ง 2 ความหมาย กระบวนการผลิต เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตและดำเนินงาน เพราะปัจจัยการผลิต คือ สิ่งรับเข้า กระบวนการผลิต คือ การประมวลผล และผลิตภัณฑ์ คือ สิ่งส่งออก ซึ่งสื่อถึงความหมายของกระบวนการผลิต
2. วิวัฒนาการผลิต
ในระยะเริ่มต้น ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นฐานการผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง ซึ่งมีจุดเน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและขายสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลานรูปแบบ ในเวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำแนวคิดของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีมาใช้ และใช้วิธีการผลิตแบบตามคำสั่ง หรือวิธีการประกอบสินค้าตามคำสั่ง เพื่อรองรับงานด้านการเปลี่ยนแปลงคำสั่งผลิตจากลูกค้าที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
3. กลยุทธ์การผลิตและดำเนินงาน
กลยุทธ์ที่ 1 การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง เพื่อเก็บสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบให้แก่ลูกค้าทันที เหมาะกับการผลิตสินค้ามาตรฐานที่มีการผลิตในปริมาณมาก ธุรกิจจะต้องมีการพยากรณ์การขายได้อย่างแม่นยำ
กลยุทธ์ที่ 2 การผลิตตามคำสั่ง เป็นการผลิตตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อตในปริมาณน้อย และมีความยืดหยุ่นสูงในการปฏิบัติหน้าที่
กลยุทธ์ที่ 3 การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประกอบชิ้นส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในคำสั่งซื้อของลูกค้า และนำมาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน
4.หน้าที่ทางการผลิตและดำเนินงาน
จัดแบ่งหน้าที่เป็น 2 ด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต ซึ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้าในสินค้าหรือบริการของธุรกิจเป็นหลัก และอีกหน้าที่หนึ่ง คือ หน้าที่ด้านโรงงาน ซึ่งเน้นความสามารถด้านการรองรับปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจัดแบ่งหน้าที่การผลิตได้ ดังนี้
4.1 การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยหาคำตอบว่าจะผลิตอะไร จำนวนเท่าไร ผลิตอย่างไร
4.2 การออกแบบกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้กระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า
4.3 การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการผลิตในส่วนลดต้นทุน กานขนส่ง และการรักษาคุณภาพของวัสดุ
4.4. การวางแผนการผลิตและดำเนินงาน เพื่อระบุวันผลิตและส่งมอบสินค้า
4.5 การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ โดยเลือกระบบการจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือที่ดี มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการจัดการงานระหว่างทำ
4.6 การควบคุมคุณภาพสินค้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4.7 การลดต้นทุนการผลิต โดยทำการค้นหาวิธีการ หรือแนวคิดใด ๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายของการลดต้นทุนการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีผลต่อธุรกิจ
4.8 การขจัดความสูญเปล่า โดยจะต้องออกแบบและดำเนินการตามาตรการที่จะลดความสูญเปล่าในโรงงานหรือในการดำเนินงานของธุรกิจ เช่น การลดระดับสินค้าคงคลังหรือวัสดุคงคลัง
4.9 ความปลอดภัยในโรงงาน โดยสร้างระบบรักษาความปลอดภัยในโรงงาน ซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้ เช่น ISO 14000 และ ISO 18000 เป็นต้น
4.10 การเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต โดยการแสวงหาวิธีการเพิ่มผลผลิตในโรงงาน รวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจใช้วิธีการขจัดความสูญเปล่าเข้าช่วย
4.11 การบำรุงรักษา โดยมีการบำรุงรักษาการแปรรูปผลผลิตให้คงไว้
4.12 การประสานงานกับหน่วยงานอื่น เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การ ปัจจุบัน ได้มีการนำแนวคิดด้านการจัดการโซ่อุปทานมาใช้ เพื่อธุรกิจสามารถผลิตสินค้าหรือบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า



ที่มาบทความ   http://kayfreedomman.blogspot.com/2012/09/6_28.html
ที่มารูปภาพ  http://zom-zaa.blogspot.com/2010/09/manufacturing-information-systems.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น